Table of Contents
โช๊คอัพคืออะไร
โช๊คอัพ (shock absorber or snubber) คือ อุปกรณ์ที่ช่วยจำกัดการหดและคลายตัวของสปริงรถ หากรถยนต์ปราศจากโช๊ค ผู้ขับขี่จะสามารถรับรู้ได้ถึงแรงสั่นสะเทือนที่ส่งเข้ามายังตัวรถโดยตรงผ่านสปริง สปริงรถที่ไม่มีโช๊คจะหดและคลายตัวสุดและทำให้การขับขี่เป็นไปอย่างยากลำบาก โช๊คอัพ จะเปลี่ยนพลังงานจลย์ส่วนเกินจากสปริงเป็นพลังงานความร้อน ซึ่งจะถูกทำให้สลายไปในที่สุดจากของเหลวไฮโดรลิกซ์ในโช๊ค ทำให้การขับขี่เป็นไปอย่างนุ่มนวล
วัสดุของโช๊คอัพ
โช๊คอัพ (รูปที่ 1: โช๊คหน้า honda) โดยทั่วไปสร้างจากโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน คาร์บอนในโช๊คมีอยู่ 0.2 – 2.1% จากน้ำหนักโช๊ค โช๊คที่มีปริมาณของคาร์บอนที่ต่างกัน จะทำให้ความยืดหยุ่น ความแข็ง ความอ่อนตัวของโช๊คต่างกัน
โช๊คอัพทำงานอย่างไร
การทำงานของโช๊คอัพ (รูปที่ 2: โช๊คหน้า toyota) โดยพื้นฐานแล้วคือการเป็นตัวรับแรงกระแทกด้วยน้ำมันระหว่างตัวรถและล้อรถ หูบนของโช๊คอัพจะเชื่อมกับลูกสูบ ซึ่งลูกสูบนี้จะอยู่ในท่อที่เต็มไปด้วยของเหลวไฮโดรลิก เมื่อรถยนต์ขับผ่านลูกระนาดหรือช่วงถนนที่ขรุขระ สปริงรถจะเกิดการหดและขยายตัว พลังงานจากการหดขยายนี้จะส่งผ่านไปยังโช๊คอัพ ทำให้ลูกสูบในโช๊คอัพเคลื่อนที่ขึ้นลงตามพลังงานที่ได้รับอย่างมหาศาลในของเหลวไฮโดรลิก การเคลื่อนที่ของลูกสูบในของเหลวไฮโดรลิกนี้จะเป็นตัวดูดซับพลังงานที่เกิดจากสปริง ทำให้การขับขี่เป็นไปอย่างธรรมชาติและราบรื่น นอกจากนี้โช๊คอัพยังเป็นตัวที่ทำให้ล้อรถของเราเกาะติดถนนอยู่เสมอ เนื่องจากในการขับขี่ การที่ล้อรถลอย ไม่ยึดติดกับถนนจะทำให้สมรรถนะในการขับหรือเบรคแย่ลง
โช๊คอัพทำมาจากอะไร?
โช๊คอัพ (รูปที่ 3: โช๊คหลัง mazda) โดยทั่วไปสร้างจากโลหะผสมระหว่างเหล็กและคาร์บอน คาร์บอนในโช๊คอัพมีอยู่ 0.2 – 2.1% จากน้ำหนักโช๊ค โช๊คอัพที่มีปริมาณของคาร์บอนที่ต่างกัน จะทำให้ความยืดหยุ่น ความแข็ง ความอ่อนตัวของโช๊คอัพต่างกัน
เมื่อไหร่ควรเปลี่ยนโช๊ค?
โช๊คอัพ (รูปที่ 4: โช๊คหลัง nissan) รถยนต์ควรเปลี่ยนเมื่อเลขไมล์บนรถอยู่ที่ประมาณ 50,000 – 100,000 ไมล์ แต่ถ้ารถถูกใช้งานบนถนนขรุขระ หรือมีหลุมบ่อมากเป็นพิเศษ ก็ควรจะเปลี่ยนโช๊คที่ไมล์น้อยกว่ารถที่ขับบนทางเรียบปกติ
ประเภทของโช๊คอัพ
โช๊คอัพ (รูปที่ 5: โช๊คหน้า suzuki) ปัจจุบันนี้มีทั้งหมด 2 ประเภทได้แก่ 1. Twin-tube ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้อีก 4 กลุ่มคือ Gas Charged, PSD (position sensitive damping), ASD (Acceleration Sensitive Damping), และ Coilover 2. Mono-tube
ข้อดี
Mono-tube | Twin-tube |
ปลดปล่อยความร้อนได้ง่ายกว่า | มีเกราะหุ้มป้องกันความเสียหายจากภายนอก |
อากาศเข้าไปเจือปนกับน้ำมันได้ยากกว่า | ราคาถูกกว่า |
จุน้ำมันได้มากกว่าทำให้โช๊คทำงานได้มั่นคง | แรงดันแก๊สน้อยกว่าทำให้ขับขี่สบายมากขึ้น |
ทำงานได้ดีในทุกอุณหภูมิ | แรงกดดันที่ตัวซีลน้อย ทำให้โอกาสเกิดซีลแตกน้อยลง |
ข้อเสีย
Mono-tube | Twin-tube |
แรงดันแก๊สที่สูงทำให้ซีลแตกได้ง่าย | ติดตั้งยากกว่า |
ราคาแพง | มีโอกาสที่อากาศจะเข้าไปปนน้ำมัน |
ความเสียหายจากภายนอกทำให้โช๊คแตกได้ง่ายเนื่องจากไม่มีเกราะหุ้ม | จุน้ำมันได้น้อยกว่า |
แรงเสียดทางจากตัวโช๊คมากกว่า Twin-tube | โช๊คจะนิ่มกว่า Mono-tube |
โช๊คอัพกระบอก ต่างจาก สตรัท อย่างไร
คนทั่วไปมักเข้าใจว่าโช๊คอัพกระบอกและสตรัท (รูปที่ 6-7: โช๊คหน้าหลัง mitsubishi) คืออะไหล่อย่างเดียวกัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว อะไหล่สองอย่างนี้ทำงานต่างกัน ซึ่งในรถยนต์ 1 คันอาจจะมีอะไหล่ทั้งสองชนิดนี้หรือชนิดเดียวก็ได้ โช๊คอัพกระบอกถูกออกแบบมาเพื่อดูดซับแรงกระแทก ไม่ใช่รองรับน้ำหนักรถ ในขณะที่สตรัทถูกออกแบบมาเพื่อรองรับน้ำหนักรถทั้งคัน สตรัทยังทำให้รถยนต์มีความสมดุลและบาลานซ์ที่ดีแก่ผู้ขับขี่รถอีกด้วย
โช๊คแก๊ส กับ โช๊คน้ำมันต่างกันอย่างไร
หลายคนอาจจะเคยรู้มาว่าโช๊คน้ำมัน (รูปที่ 8: โช๊คอัพ isuzu) นิ่มกว่าหรือเราจะไม่ใช้โช๊คแก๊สสำหรับรถบรรทุกของมากๆ จริงๆแล้วเหตุผลข้างต้นถูกแค่ครึ่งเดียว โดยปกติแล้วโช๊คอัพน้ำมันในสมัยก่อนจะมีหน้าที่2อย่างคือทำให้การขับขี่รถนุ่มนวลและการควบคุมรถที่มั่นคง แต่โช๊คอัพน้ำมันไม่สามารถทำหน้าที่สองอย่างนี้ได้พร้อมๆกันให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ต้องเลือกอย่างใดอย่างหนึ่ง เนื่องจากวาล์วในโช๊คอัพน้ำมันไม่สามารถขยายขนาดได้ ในโช๊คอัพน้ำมันที่มีวาล์วนิ่ม น้ำมันสามารถไหลผ่านได้มากกว่า โช๊คน้ำมันชนิดนี้ทำให้การขับขี่นุ่มนวลขึ้น แต่ไม่สามารถควบคุมตัวรถได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก ในขณะที่โช๊คอัพน้ำมันที่มีวาล์วแข็ง น้ำมันไหลผ่านวาล์วได้ยากกว่า การควบคุมจะดีกว่าโช๊คน้ำมันแบบแรก แต่การขับขี่จะรู้สึกได้ว่าแข็ง ไม่สบายมากนัก และยิ่งไปกว่านั้น อากาศสามารถเข้าไปทำปฏิกิริยากับน้ำมันในตัวโช๊คอัพ ทำให้เกิดปรากฏการณ์ที่เรียกว่า aeration หรือการมีฟองอากาศในน้ำมัน
โดยพื้นฐานแล้วโช๊คอัพแก๊ส (รูปที่ 9: โช๊คแก๊ส isuzu) เกิดจากการที่เราอัดแก๊สไนโตรเจนลงไปในภาวะแรงดันต่ำ โช๊คอัพแก๊สโดยรวมทั่วไปแล้วเหมือนกับโช๊คอัพน้ำมันทุกอย่าง ยกเว้นขนาดของวาล์วที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำให้การขับนี่นั้นนุ่มนวลและสามารถควบคุมรถได้อย่างมั่นคงในเวลาเดียวกัน นอกจากนั้นการที่มีแก๊สไนโตรเจนในโช๊คอัพยังกันไม่ให้เกิดภาวะ aeration ซึ่งอาจจะนำไปสู่การเกิดเสียงรบกวนจากโช๊ค ทำให้โช๊คอัพทำงานได้อย่างมีประสิทธภาพมากขึ้น
ส่วนคำถามที่ว่าทำไมโช๊คอัพน้ำมันถึงนิ่มกว่าโช๊คอัพแก๊ส คำตอบคือโช๊คอัพแก๊สจะยืดหดตัวได้เร็วกว่าโช๊คอัพน้ำมัน จึงเป็นเหตุผลที่ว่าทำไมเราถึงรู้สึกว่าโช๊คแก๊สแข็งกว่าโช๊คน้ำมัน
อาการของโช๊คอัพที่เสีย (CURSED)
- C – Car veering or sliding in side winds? รถสไลด์ไปทางอื่น
ผู้ขับสามารถรู้สึกถึงตัวรถที่พร้อมจะเซไปในทิศทางซ้ายขวาได้ตลอดเวลา โช๊คที่เสียจะทำให้การขับไม่มั่นคงและอันตราย
- U – Uneven wear appearing on your tires ล้อไม่เกาะถนน
โช๊คอัพที่ชำรุดจะทำให้ล้อรถไม่เกาะถนน ซึ่งทำให้เกิดภาวะที่เรียกว่า Hydroplaning หรืออาการเหินน้ำเวลาขับบนถนนที่มีน้ำขัง
- R – Rocking, rolling and rattling รถสั่นขณะขับขึ้นเนิน
ปกติแล้วโช๊คอัพมีหน้าที่ดูดซับแรงสั่นสะเทือนเวลารถขึ้นเนิน หากรถขึ้นเนินแล้วผู้ขับมีความรู้สึกถึงแรงสั่นสะเทือนประมาณมากกว่าปกติเป็นเวลานาน แปลว่าโช๊คอัพอาจจะเสียได้
- S – Swerving and dipping when applying your brakes รถเสียการควบคุมขณะเบรก
วาล์วหรือลูกสูบในโช๊คอัพที่เสียจะทำให้รถควบคุมยากขึ้นขณะเบรค ในกรณีที่โช๊คอัพเสีย รถขณะเบรคจะเสียการทรงตัวได้ง่าย เช่น หัวทิ่มไปข้างหน้ามากขึ้น
- E – Excessive vibration in your steering wheel รถสั่นไม่จบหลังขับในทางขรุขระ
ปกติแล้วการขับรถไปในทางขรุขระจะมีอาการสั่นได้เสมอ แต่เมื่อขับในทางเรียบแล้วยังมีอาการสั่นอีก แปลว่าโช๊คอัพอาจจะมีปัญหาได้
- D – Delayed or longer stopping distances เบรคนานมากกว่าเดิม
โช๊คอัพที่เสียจะให้การเบรครถแต่ละครั้งใช้เวลาและระยะทางมากกว่าเดิมเมื่อเทียบกับรถยนต์ที่โช๊คอัพอยู่ในสภาพดี โช๊คอัพที่ดีจะช่วยเรื่องระยะเบรคได้ดีขึ้น 20%
เราสามารถเห็นน้ำมันไหลลงมาตามตัวของโช๊คอัพที่เสียได้ การที่น้ำมันหายไปจากโช๊คอัพจากวาล์วหรือลูกสูบที่เสีย ทำให้โช๊คไม่สามารถทำงานได้อย่างเต็มที่
ปัญหาที่เกิดขึ้นเมื่อโช๊คอัพสั้นหรือยาวเกินไป
ในกรณีที่โช๊คอัพ (รูปที่ 10: โช๊คอัพ BMW) สั้นเกินไป ลูกสูบในตัวกระบอกจะกระแทกกับ cylinder head ในตัวกระบอกโช๊ค ทำให้การทำงานของลูกสูบผิดปกติไป เกิดความเสียหายต่อตัว cylinder head อาจทำให้มีน้ำมันร่ำซึมออกมาได้ แต่ในกรณีที่โช๊คอัพยาวเกินไป เกิดขึ้นเมื่อเกิดแรงกดจากรถยนต์ลงมาที่ตัวโช๊คจนสุด แต่รถยนต์ยังสามารถส่งแรงมาที่โช๊คอัพได้อีกจากความยาวที่มากเกิน แรงที่เหลือนี้จะทำให้ซีลในตัวโช๊คแตก ทำให้น้ำมันรั่วซึมได้ นอกจากนั้นแรงที่กดลงมายังทำให้เกิดแรงกระแทกลับไปยังช่วงล่างรถเกิดความเสียหายได้
ทำไมรถเราถึงเด้งและขับไม่สบาย
โดยปกติ สองสาเหตุหลักๆที่ทำให้รถเกิดอาการกระเด้งไปมาและขับไม่นุ่มนวลคือ ยางรถยนต์และช่วงล่าง เนื่องจากยางรถยนต์เป็นอุปกรณ์หลักที่เชื่อมต่อเรากับถนนโดยตรง การที่ยางมีปัญหาอาจทำให้การขับขี่สะดุดได้ ยางรถที่มีปัญหามีสองสาเหตุคือ
- ลมยางมากเกินไป การที่ยางรถมีลมบรรจุมากเกินไป จะทำให้ยางไม่สามารถดูดซับแรงกระแทกจากถนนได้ เหมือนล้อสเก๊ตบอร์ดที่มีความแข็งกระด้าง
- ยางรถยนต์ผิดรูป
ช่วงล่างเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการกระโดดของรถได้เนื่องจากหน้าที่หนึ่งของช่วงล่างคือการดูดซับแรงที่มาจากถนนไปยังรถยนต์และคนขับ การที่ช่วงล่างรถยนต์มีปัญหาเกิดได้จากหลายสาเหตุคือ
- โช๊คอัพมีปัญหา เนื่องจากโช๊คอัพทำหน้าที่เชื่อมต่อระหว่างช่วงล่างของรถยนต์และตัวรถยนต์ การดูดซับแรงกระแทกจากตัวถนนผ่านของเหลวไฮโดรลิกซ์จึงเป็นหน้าที่หนึ่งของโช๊คอัพ เมื่อโช๊คอัพมีปัญหา เราจึงสัมผัสได้ถึงแรงกระแทกโดยตรง
- ช่วงล่างรถไม่ได้รับการหล่อลื่นที่มากพอ ช่วงล่างรถยนต์ต้องการการหล่อลื่นเพื่อให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ การที่น้ำมันในช่วงล่างรถยนต์ไม่พอหรือถูกเจือปนจากสิ่งสกปรกอาจทำให้ทำงานดูดซับแรงกระแทกจากถนนได้ไม่เต็มที่
- ผ้าเบรคหรือจานเบรคมีปัญหา ปกติแล้วการการเหยียบเบรคแต่ละครั้ง ผ้าเบรคจะเสียดสีกับจานเบรคทำให้เกิดแรงเสียดทานซึ่งจะทำให้รถมีความเร็วช้าลง แต่ในกรณีที่ผ้าเบรคหรือจานเบรคมีปัญหา แรงเสียดทานในที่นี้จะมากขึ้นทำให้คนขับรถรู้สึกได้ถึงแรงสั่นสะเทือนมากกว่าเดิม
อาการรถกระโดดหรือไม่มั่นคงขณะขับเป็นอาการที่อันตรายและควรได้รับการตรวจสอบโดยช่างที่ชำนาญ เนื่องจากแรงกระแทกที่มากกว่าเดิมจะทำให้ช่วงล่างและตัวเครื่องยนต์ได้รับความเสียหายมากขึ้น
เสียงแปลกๆขณะขับรถ
การมีเสียงรบกวนขณะขับรถนั้นสาเหตุส่วนใหญ่มาจากช่วงล่างรถยนต์ การยกรถขึ้นลิฟต์เพื่อตรวจสภาพสามารถทำได้ แต่เสียงบางเสียงนั้นเราสามารถรู้ต้นตอก่อนเอารถเข้าอู่ได้
- เสียงก๊อกแก๊กขณะลดความเร็ว เมื่อเราเบรครถ น้ำหนักรถทั้งหมดจะถูกเทมาส่วนด้านหน้า ซึ่งสาเหตุส่วนใหญาจะมาจากโช๊คอัพหน้า ในกรณีนี้สิ่งที่ควรทำอันดับแรกคือการเช็คมีน้ำมันรั่วซึมหรือไม่ เพราะโช๊ครั่วจะทำให้เกิดการฝืดของลูกสูบจนเกิดเสียงได้ อีกสาเหตุหนึ่งที่เสียงก๊อกแก๊กเกิดขึ้นได้ขณะเบรคคือ ผ้าเบรคล้อหลังมีปัญหา
- เสียงก๊อกแก๊กเมื่อรถลงหลุม โดยส่วนมากเสียงก๊อกแก๊กที่เกิดขึ้นขณะขับรถลงหลุมเกิดขึ้นได้จากโช๊คอัพ เนื่องจากโช๊คอัพเป็นตัวเชื่อมระหว่างช่วงล่างของรถและล้อรถยนต์ ดังนั้นโช๊คอัพจึงมีผลกับความนุ่มนวลในการขับ
- เสียงก๊อกแก๊กเมื่อขึ้นเนิน เสียงก๊อกแก๊กจากการขึ้นเนินเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ แต่ที่พบบ่อยคือลูกหมากต่างๆที่เป็นข้อต่อ (joint) ลูกหมากที่หลวมจากการใช้งานสามารถทำให้เกิดเสียงขณะขึ้นเนินได้ การเช็คสามารถทำได้ด้วยการยกรถขึ้นลิฟต์และลองเทสลูกหมากขึ้นลง หากลูกหมากหลวมหรือชำรุดจริงจะสามารถรู้สึกได้ด้วยมือเปล่า
- เสียงก๊อกแก๊กเมื่อเลี้ยวรถ เสียงรบกวนขณะเลี้ยวรถเกิดขึ้นได้หากเบ้าโช๊คอัพมีปัญหา เนื่องจากซีลของตัวเบ้าโช๊คอัพอาจจะแตกหรือชำรุด ทำให้เราได้ยินเสียงบดขณะกำลังหมุนพวงมาลัยได้
- เสียงก๊อกแก๊กคล้ายเหล็กชนกัน เกิดขึ้นได้ถ้าหากบู๊ชปีกนกมีปัญหา จากการที่บูชแห้งและแตกทำให้ทุกครั้งที่ล้อรถยนต์เคลื่อนที่ขึ้นลง เราจะได้ยินเสียงคล้ายเหล็กกระทบกันเสมอ บูชปีกนกที่เสียยังทำให้รถยนต์สั่นขณะขับที่ความเร็วสูงอีกด้วย นอกจากนั้นสปริงที่ถูกติดตั้งในตำแหน่งที่ไม่เหมาะสมยังเป็นอีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เราได้ยินเสียงนี้
อาการของโช๊คสตรัทรั่ว
โช๊คสตรัทรั่วเป็นปัญหาที่พบได้บ่อยในปัญหาช่วงล่างรถยนต์ทั้งหมด แต่โชคดีที่การแก้ปัญหานี้ค่อนข้างง่าย เริ่มจากการหาสาเหตุโช๊คสตรัทรั่ว ในกรณีที่เป็นโช๊คเก่า อาจเกิดจากซีลแตกทำให้เก็บน้ำมันไว้ไม่อยู่ แต่ถ้าเป็นโช๊คใหม่อาจเกิดจากการชนหีรือปะทะทำให้เกิดการงอหรือบิ่นของตัวโช๊คทำให้รั่วได้ในที่สุด หลังจากเจอโช๊คสตรัทที่รั่วแล้วสิ่งที่ควรทำคือการเปลี่ยนสตรัทใหม่ทันที เนื่องจากการขับรถยนต์ที่โช๊คสตรัทรั่วจะทำให้ล้อรถไม่เกาะกับถนน รถยนต์จะไม่มีความสมดุลขณะเคลื่อนที่ มีโอกาสไถลหรือทำให้ควบคุมทิศทางได้ยากขณะขับขี่ ดังนั้นสิ่งที่ควรทำหลังจากเปลี่ยนสตรัทใหม่แล้วนั้นคือการเช็คช่วงล่างรถยนต์อย่างสม่ำเสมอ เปลี่ยนสตรัทใหม่ทุกครั้งเมื่อถึงเวลาที่เหมาะสม เช่น รถยนต์ที่วิ่งครบ 50,000 ไมล์ และสังเกตอาการแปลกๆจากรถยนต์ เช่น เบรคแล้วรถหัวทิ่มหรืออาการเครื่องสั่นขณะขับบนทางเรียบ